E-marketing
การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Marketing) หมายถึง
การดำเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลาง และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มาผสมผสานกับวิธีการทางการตลาด
การดำเนินกิจกรรมทางการตลาด อย่างลงตัวกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย
เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กรอย่างแท้จริง ซึ่งในรายละเอียดของการทำการตลาด E-Marketing จะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.
เป็นการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายในลักษณะเฉพาะเจาะจง (Niche Market)
2.
เป็นลักษณะเป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง (2 Way Communication)
3.
เป็นรูปแบบการตลาดแบบตัวต่อตัว (One to One Marketing หรือ Personalize
Marketing) ที่ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายสามารถกำหนดรูปแบบสินค้าและบริการได้ตามความต้อง
การของตนเอง
4.
มีการกระจายไปยังกลุ่มผู้บริโภค (Dispersion of Consumer)
5.
เป็นกิจกรรมที่นักการตลาดสามารถสื่อสารไปยังทั่วทุกมุมโลก ตลอด 24 ชั่วโมง (24 Business
Hours)
6.
สามารถติดต่อสื่อสาร โต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์ได้อย่างรวดเร็ว (Quick Response)
7.
มีต้นทุนต่ำแต่ได้ประสิทธิผล สามารถวัดผลได้ทันที (Low Cost and Efficiency)
8.
มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมการตลาดแบบดั้งเดิม (Relate to Traditional Marketing)
9.
มีการตัดสินใจในการซื้อจากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ (Purchase by Information)
E-Marketing เป็นส่วนผสมแนวความคิดทางการตลาด
และทางเทคนิค รวมเข้าไว้ด้วยกันทั้งด้าน การออกแบบ (Design) , การพัฒนา (Development) , การโฆษณาและการขาย (Advertising
and Sales) เป็นต้น (ตัวอย่างกิจกรรมได้แก่ Search Engine
Marketing, E-mail Marketing, Affiliate Marketing, Viral Marketing ฯลฯ)
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจและลูกค้า
เนื่องจากระบบทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถสนับสนุนการร้องขอข้อมูลของลูกค้า
การจัดเก็บประวัติ และพฤติกรรมของลูกค้าเอาไว้
รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ ส่งผลต่อ การเพิ่มและรักษาฐานลูกค้า (Customer
Acquisition and Retention) และอำนวยประโยชน์ในการประกอบธุรกิจอย่างครบถ้วน
ในขณะที่ การตลาดแบบดั้งเดิม (Traditional Marketing) จะมีรูปแบบที่แตกต่างจาก
E-Marketing อย่างชัดเจน
โดยการตลาดแบบดั้งเดิมนั้นจะมีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย
จะไม่เน้นทำกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และมักจะใช้วิธี การแบ่งส่วนตลาด (Marketing
Segmentation) โดย ใช้เกณฑ์สภาพประชากรศาสตร์ หรือสภาพภูมิศาสตร์
และสามารถครอบคลุมได้บางพื้นที่ ในขณะที่ถ้าเป็น E-Marketing จะสามารถครอบคลุมได้ทั่วโลกเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้ธุรกิจต่างๆ
จึงได้ให้ความสนใจกับอินเทอร์เน็ตเป็นอย่างมาก รวมถึงได้มีการนำเอาแนวคิด E-Marketing
มาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย
เพื่อทำการตลาดออนไลน์ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
วัตถุประสงค์ของโครงสร้างการทำ E-marketing Plan เพื่อ
· Cost
reduction and value chain efficiencies
(
ลดต้นทุน และ เพิ่มประสิทธิภาพ )
· Revenue
generation
(
เพิ่มรายได้ )
· Channel
partnership
(
เพิ่มช่องทางหุ้นส่วน )
· Communications and branding
( การติดต่อสื่อสารและการสร้างแบรนด์ )
ข้อดีของ E – Marketing เมื่อเทียบกับสื่ออื่น
1.
คุณภาพของผู้ใช้มีมากกว่าเมื่อเทียบกับสื่ออื่น
2.
จำนวนผู้ใช้สื่อนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
3.
ราคาลงโฆษณาถูกกว่าเมื่อเทียบกับสื่ออื่น
4.
สามารถวัดผลได้แม่นยำกว่าสื่ออื่น
5.
เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากกว่า
800 ล้านคน 225 ประเทศ 104
ภาษา
การเริ่มต้นตลาดออนไลน์
1.กำหนดเป้าหมาย
2.ศึกษาคู่แข่ง
3.สร้างพันธมิตร
4.ติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็น
5.ดูแลและปรับปรุงเว็บไซต์
Search Engine Marketing (SEM)
เป็นการผสมคำกันระหว่างคำว่า
Search Engine หรือ เครื่องมือค้นหาบนอินเทอร์เน็ต และคำว่า Marketing หรือการตลาด ดังนั้น SEM หรือ Search Engine Marketing จึงหมายถึง
“การทำการตลาดผ่านเครื่องมือค้นหาบนอินเทอร์เน็ต”
การทำ SEM เป็นวิธีการโปรโมตเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพและตรงเป้าหมาย
เนื่องจากในการค้นหาข้อมูลในแต่ละครั้งจำเป็นต้องใช้ Keyword(คีย์เวิร์ด) เป็นตัวกำหนดขอบเขต
การทำ SEM (Search Engine Marketing) สามารถแบ่งได้เป็น
2 ส่วน คือ
1. SEO
(Search Engine Optimization) หรือการโปรโมทเว็ปไซต์ คือ
การเพิ่มอันดับของเว็บไซต์ในส่วนของผลการค้นหาทั่วไปในหน้า Search Result
Page โดยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายในเว็บไซต์ให้เป็นไปตามกฏของ Search
Engine นั้นๆ
2. PPC (Pay Per
Click) คือ
ส่วนของพื้นที่โฆษณาซึ่งอยู่ในหน้า Search Result Page เช่นกัน
แต่ต้องจ่ายเงินเมื่อมีการคลิ๊กเปิดเข้าไปดูเว็บไซต์ PPC มีข้อแตกต่างกับ
SEO ตรงที่สามารถแสดงผลในลำดับต้นๆได้ง่ายและรวดเร็ว
โดยที่ไม่ต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างในเว็ปไซด์ เพียงแค่ประมูล Keyword ที่ต้องการมา เว็บไซต์ก็สามารถแสดงอยู่ในอันดับต้นๆได้
ขายสินค้าทำ E-Commerce
การขายบริการหรือสมาชิก
การขายข้อมูล
จัดกิจกรรมและงาน
การให้บริการผ่านมือถือ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น