วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Lesson 7 : Enterprise Systems: From Supply Chains to ERP to CRM

Enterprise Systems:
From Supply Chains to ERP to CRM


   ระบบที่จัดการการบริหารและเชื่อมโยงเครือข่ายตั้งแต่ suppliers, manufacturers, distributors เพื่อส่งมอบสินค้าและบริการให้ลูกค้าโดยเชื่อมโยงระบบข้อมูล วัตถุดิบสินค้าและบริการ เงินทุน รวมถึงการส่งมอบเข้าด้วยกัน เพื่อให้การส่งมอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและส่งมอบได้ตรงตามเวลาและความต้องการ




ระยะของการเปลี่ยนแปลงธุรกิจเพื่อเข้าสู่กระบวนบริหารซัพพลายเชน 4 ระยะ คือ 

ระยะที่ 1 องค์กรในรูปแบบพื้นฐาน (The Baseline Organization)
           เป็นรูปแบบการบริหารจัดการแบบดั้งเดิมที่ต้องการสร้างผลกำไรสูงสุดขององค์กร โดยเน้นความชำนาญในการทำงานของแต่ละแผนก/ฝ่ายซึ่งองค์กรในรูปแบบนี้อาจไม่สามารถปรับแผนการผลิตและการจัดหาวัตถุดิบได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในตลาดของผู้บริโภคเนื่องจากแต่ละแผนก/ฝ่ายต่างทำงานเป็นอิสระต่อกันไม่เกี่ยวกัน

ระยะที่ 2 องค์กรที่รวมหน้าที่ทางธุรกิจเข้าด้วยกัน (The Functionally Integrated Company)
          ในระยะนี้องค์กรจะเริ่มจัดตั้งเป็นบริษัท โดยในองค์กรได้มีการวบรวมหน้าที่/ลักษณะงานที่เป็นประเภทเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันไว้ในกลุ่มงาน/ฝ่ายเดียวกัน ซึ่งจะไม่มีแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบออกจากกันอย่างเด็ดขาดเหมือนระยะแรก เช่น ฝ่ายจัดการวัตถุดิบมีหน้าที่จัดซื้อ จัดสรร ควบคุมการใช้วัตถุดิบและปัจจัยการผลิตอื่นๆ ฝ่ายการผลิตมีหน้าที่วางแผนการผลิต และควบคุมคุณภาพการผลิต และฝ่ายขายมีหน้าที่วางแผนการตลาดและขายสินค้า เป็นต้น

ระยะที่ 3 องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายในธุรกิจไว้ด้วยกัน (The Internally Integrated Company)
          ในระยะนี้องค์กรมีการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของตนอย่างต่อเนื่องจากระยะที่ 2 โดยฝ่ายต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันทำให้มีการติดต่อประสานงานเชื่อมโนงระหว่างฝ่ายงานมากขึ้น การทำงานจึงมีความต่อเนื่องกันเหมือนห่วงโซ่ นอกจากนั้นกิจกรรมการผลิตบางอย่างยังสามารถที่จะใช้ทรัพยากรร่วมกันภายในองค์กรได้ด้วย ซึ่งเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ในระดับหนึ่ง

ระยะที่ 4 องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายนอกธุรกิจไว้ด้วยกัน (The Externally Integrated Company)
          ระยะนี้เป็นระยะที่บริษัทก้าวเข้าสู่รูปแบบการบริหารแบบซัพพลายเชนอย่างเต็มตัว โดยบริษัทได้ปรับโครงสร้างการบริหารแบบซัพพลายเชนภายในบริษัทของตนเองไว้เรียบร้อยแล้ว และเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การบริหารลูกโซ่อุปทานภายนอก โดยเข้าไปทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ในลักษณะที่เป็นเครือข่ายการทำงานเดียวกัน เพื่อควบคุมคุณภาพการผลิตวัตถุดิบ คุณลักษณะของวัตถุดิบและวิธีการผลิตวัตถุดิบในโรงงานของซัพพลายเออร์ และในบางกรณีบริษัทผู้ผลิตอาจเปิดโอกาสซัพพลายเออร์เข้ามาเปิดสถานี หรือโรงงานย่อย เพื่อนำส่งวัตถุดิบให้กับริษัทได้อย่างสะดวก รวดเร็วและประหยัดต้นทุน





การใช้ ERP และ SCM นั้น ไม่ควรจะเป็นไปในเชิงการตัดสินใจโดยใช้แบบใดแบบ หนึ่ง แต่ควรจะเป็นแบบรวมทั้งสองเข้าด้วยกันและใช้ร่วมกัน ตัวอย่างเช่น งานที่เกี่ยวข้องกับการสั่งสินค้า (Order processing) มองในมุม ERP จะเป็นไปในเชิง “How can I best take or fulfill you order ?” แต่เมื่อมองในเชิง SCM แล้วจะเป็น “Should I take your order ?” ดังนั้นจะเห็นว่า SCM มุ่งเน้นไปยังการวางแผน การ optimization และ การตัดสินใจ ในส่วนต่างๆของ Supply chain ส่วน ERP จะมุ่งเน้นไปที่ การวางแผน การบริหาร จัดการ และการใช้ทรัพยากรทั้งหมดทั่วองค์กร (มองในเชิงการใช้ทรัพยากรทั้งหมดทั่วองค์กร)
Customer relationship management (CRM): คือความพยายามของ enterprisewide เพื่อให้ได้มา และ รักษาลูกค้าต่างๆ ผ่านทางการสนับสนุนของ IT






Supply Chain Problems and Solutions
         ปัญหาที่เกิดกับ supply chain มาจากสองแหล่ง:
  •  ความไม่แน่นอนต่างๆ  (Uncertainties)
  •  ความจำเป็นต้องประสานงานกับการดำเนินงานหลายๆแบบ ทั้งภายในด้วยกันเอง (ข้ามแผนก) และ พันธมิตรธุรกิจทั้งหลาย

            ความไม่แน่นอนของ supply chain ก็คือ การพยากรณ์ความต้องการ (demand forecast) ความต้องการจริงอาจเปลี่ยนแปลงออกไปจากที่ประมาณการเอาไว้โดยผลของการดำเนินการต่างๆ เช่น สภาพการแข่งขัน ราคา สภาพภูมิอากาศ การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ความเชื่อมั่น ของลูกค้า ระยะเวลาในการจัดส่ง และอื่นๆ
Bullwhip Effect
  •  ความยุ่งยากประการหนึ่งที่พบเห็นบ่อยมากคือคือการปรับตั้งค่าระดับสินค้าคงคลัง (inventory level) ต่าง ๆ ในส่วนต่างๆของ Supply chain หรือ รู้จักกันในชื่อ Bullwhip Effect
  •         Bullwhip Effect หมายถึง การเปลี่ยนแปลง (Erratic shifts) ในเชิงเพิ่มขึ้นหรือลดลง ของ supply chain จะสัมพันธ์กับความถูกต้องในการกำหนดระดับสินค้าคงคลังในหลาย ๆส่วนที่เกี่ยวข้องกับ supply chain
  •          ปัญหาทางด้าน SC ทำให้เกิดต้นทุนเพิ่มขึ้นในองค์กร ซึ่งเป็นแรงขับดันให้ต้องทำการ แก้ไข บางบริษัทใช้กลยุทธ์ การรวมตัวในแนวดิ่ง (Vertical integration) ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จเฉพาะส่วน แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ตลอดกระบวนการของ SC
  •        Vertical integration หมายถึง กลยุทธ์ในการรวมส่วนต้นทาง (upstream part) ของ supply chain เข้ากับส่วนภายในของบริษัท (internal part) (ในทางปฎิบัติแล้วคือ การจัด ซื้อจาก up- steam suppliers) เป็นไปเพื่อให้มั่นใจได้ว่า ซัพพลายเออร์มีของให้ตามต้อง การ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น