Supply chain management
การไหลของ Supply Chain มี สองแบบ (ในมุมมองที่ต่างกัน) ได้แก่
- การไหลของวัตถุดิบ (Materials flows) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ต่างๆ วัตถุดิบ การจัดส่ง และอื่นๆ ที่ไหลไปตามสายโซ่ แนวความคิดของ materials flows รวมทั้ง reverse flows-returned products, recycled products และ disposal of materials or products.
- การไหลของสารสนเทศ (Information flows) หมายถึงข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวกับความ ต้องการ การจัดส่ง การสั่งของ การส่งคืน และ ตารางเวลา (schedule) เป็นการไหลของ สารสนเทศทั้งสิ้น
ผังการทำงานในระบบ Supply Chain Management
Supply Chain ในรูปที่ผ่านมา เป็นบริษัทที่ผลิตสินค้า บริษัทเหล่านี้อาจมี warehouse ตั้งอยู่ต่างสถานที่กัน ทำให้ chain มีความซับซ้อนมากขึ้น โดยทั่วไปแล้ว Supply Chain สามารถแบ่งได้เป็นสี่ลักษณะกว้างๆ คือ
- ผลิตรวมๆกันแล้วเก็บไว้ในสต็อก (Integrated make-to-stock)
- ผลิตเพื่อเติมเต็มตลอดเวลา (Continuous replenishment)
- ผลิตตามคำสั่งซื้อ (Build-to-order)
- ประกอบตามช่องทางการจัดจำหน่าย (Channel assembly)
Supply Chains Classifications
ประโยชน์ของการทำ SCM
- การเคลื่อนไหลของวัตถุดิบและสารสนเทศเป็นไปอย่างราบรื่น
- ปรับปรุงระดับของสินค้าคงเหลือ
- เพิ่มความเร็วได้มากขึ้น
- ขจัดความสิ้นเปลืองหรือความสูญเปล่าต่างๆ ในกระบวนการทางธุรกิจให้หมดไปได้
- ลดต้นทุนในกิจกรรมต่างๆ ได้
- ปรับปรุงการบริการลูกค้า
ปัญหาคือความสนใจที่แตกต่างกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น
- ลูกค้ามักต้องการสินค้าที่ถูกต้องสมบูรณ์แบบและมีราคาถูก
- พนักงานในสายการผลิตอยากรู้คำสั่งที่ถูกต้อง
- ผู้จัดการต้องการรายงานที่ถูกต้อง
- ผู้จำหน่ายวัตถุดิบต้องการคำสั่ง ซื้อที่ถูกต้องเพื่อจะได้จัดส่งได้ถูกต้อง
จากผลการสำรวจพบว่าองค์ที่นำ Supply Chain Management ไปประยุกต์ใช้ในองค์กรน้อยมาก โดยส่วนใหญ่คิดว่าจะนำไปใช้ในอนาคต
Value Chain ห่วงโซ่คุณค่า
แนวคิดนี้แบ่งกิจกรรมภายในองค์กร เป็น 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมหลัก Primary Activities) และ กิจกรรมสนับสนุน (Support Activities)โดยกิจกรรมทุกประเภทมีส่วนในการช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าหรือบริการของบริษัท
กิจกรรมหลัก 5 กิจกรรมเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหรือสร้างสรรค์สินค้าหรือบริการ การตลาดและการขนส่งสินค้าหรือบริการไปยังผู้บริโภค ประกอบด้วย
Inbound Logistics กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการได้รับ การขนส่ง การจัดเก็บและการแจกจ่ายวัตถุดิบ
Operations กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนหรือแปรรูปวัตถุดิบให้ออกมาเป็นสินค้า เป็นขั้นตอนการผลิต
Outbound Logistics กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ รวบรวม จัดจำหน่ายสินค้าและบริการไปยังลูกค้า
Marketing and Sales กิจกรรมที่เกี่ยวกับการชักจูงให้ลูกค้าซื้อสินค้าและบริการ
Customer Services กิจกรรมที่ครอบคลุมถึงการให้บริการเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้า รวมถึงการบริการหลังการขาย
ส่วนกิจกรรมสนับสนุน เป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้กิจกรรมหลักสามารถดำเนินไปได้ ประกอบด้วย
Procurement กิจกรรมในการจัดซื้อ-จัดหา input เพื่อมาใช้ในกิจกรรมหลักTechnology Development กิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยในการเพิ่มคุณค่าให้สินค้าและบริการหรือกระบวนการผลิต
Human Resource Management กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่วิเคราะห์ความต้องการ สรรหา และคัดเลือก ประเมินผล พัฒนา ฝึกอบรม ระบบเงินเดือนค่าจ้าง และแรงงาน
Firm Infrastructure โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร ได้แก่ ระบบบัญชี ระบบการเงิน การบริหารจัดการขององค์กร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น